วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

11.สมาชิก

สมาชิก



นายชัชชาญ  แสนพินิจ ม.5/4 เลขที่6


นายศิวกร โตวิจิตร์  ม.5/4 เลขที่9


นางสาวจิตธิณี  อิ่มใจ ม.5/4  เลขที่20


นางสาวมติพร อัมพรรัตน์  ม.5/4 เลขที่22

นางสาวนิตยา ทองพูน  ม.5/4 เลขที่24


นางสาวนันทิชา  ชมแผน ม.5/4 เลขที่25


นายจิรายุ  นำภา ม.5/4 เลขที่27


นายธรรมปพน เธียรวงศกร  ม.5/4 เลขที่29













10.บทสรุปแล้วข้อเสนอแนะ

บทสรุปและข้อเสนอแนะ
      
       การที่เรานำเอาสมุนไพรชนิดต่างๆนั้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆเพื่อความงาม โดยอาศัยสรรพคุณหลักของสมุนไพรชนิดต่างๆมาผสมผสานกันจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อการใช้งานด้วย ทางเราได้เลือกคัดเอาแต่สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาผิวพรรณนำมาคัดสรรแล้วนำไปแปรรูปจนได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ พร้อมสำหรับการใช้งาน

ในการทำผลิตมีข้อเสนอแนะคือ

1.ในการทำสบู่มะละกอถ้าต้องการเก็บสบู่มะละกอไว้ใช้นานควรใส่สารกันราลงไปในเนื้อสบู่ด้วย
               
2.ในการใช้เกลือขมิ้นขัดผิววิธีการใช้คือล้างตัวโดยไม่ต้องฟอกสบู่ จากนั้นตักเกลือนมขมิ้นใส่ฝ่ามือประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ข้นแล้วนำไปขัดทั่วร่างกายโดยขัดวนเป็นก้นหอย จึงล้างออก เมื่อล้างออกแล้วให้ชำระร่างกายด้วยสบู่เหลวหรือสบู่เด็กอีกหน ก่อนซับผิวให้หมาดแล้วทาโลชั่นบำรุงผิวเกลือนมขมิ้นที่ใช้ไม่หมดให้เก็บใส่กระปุกมีฝาปิดสนิทเพื่อป้องกันความชื้น ก็สามารถเก็บไว้ใช้ขัดผิวได้นานเป็นเดือน
3.หากไม่มีหม้อดิน ให้คั่วเกลือในกระทะสเตนเลสจนกรอบดี จึงนำมาใช้ แต่พึงระวังเม็ดเกลือแตกกระเด็น
4.ปัจจุบันเกลือเม็ดใหญ่ที่ทำความสะอาดมีวางจำหน่ายแล้ว สามารถนำมาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องล้าง






9.ความรู้ทั่วไปของขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

       ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวมีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยที่ถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆอีก เช่น ขมิ้นชันขมิ้นแกงขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นต้น และขมิ้นชันสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆได้หลายชนิดซึ่งมีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น

ประโยชน์ของขมิ้น

•สรรพคุณของขมิ้นข้อแรกคือมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
•ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
•ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
•ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเล็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
•ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้

 



8.ความรู้ทั่วไปของมะหาด

มะหาด

มะหาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxbสมุนไพรมะหาด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปวกหาด (เชียงใหม่), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาดขนุน (ภาคเหนือ), ฮัด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หาด (ทั่วไป-ภาคกลาง), เซยาสู้ (กะเหรี่ยง-กำแพง), กาแย ตาแป ตาแปง (มลายู-นราธิวาส), ขนุนป่า เป็นต้น

ลักษณะของมะหาด 

•ต้นมะหาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ทรงพุ่มกลมหรือแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีดำ สีเทาแกมน้ำตาล หรือสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลเข้ม ต้นแก่ผิวเปลือกจะค่อนข้างหยาบ ขรุขระและแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
•ใบมะหาด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งแหลม โคนใบมน และอาจเบี้ยวไม่สมมาตรกัน ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยหรือมีซี่ฟันเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนหยาบเล็กน้อย ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอมเทา มีขนหยาบสีเหลืองเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนแต่พอแก่ มีเส้นใบข้างประมาณ 8-20 คู่ จรดกันที่ขอบใบ
•ผลมะหาด ผลเป็นสดและมีเนื้อ เป็นผลรวมสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างบิดเบี้ยวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ผิวผลขรุขระและมีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนถึงส้ม เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อผลนุ่มเป็นสีเหลืองถึงสีชมพู ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
 
ประโยชน์ของมะหาด

•แก่นมะหาดมีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย ละลายเลือด กระจายโลหิต
•ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (แก่น,ผงปวกหาด)
•ใบมะหาดมีสรรพคุณช่วยแก้โรคบวมน้ำ
•ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดมะหาดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวหรือ “ครีมมะหาด“, “โลชั่นมะหาด“, “เซรั่มมะหาด” เนื่องจากสารสกัดจากแก่นมะหาดนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเมลานิน จึงทำให้ผิวขาวขึ้นได้ แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดมะหาดเพื่อให้ผิวขาว นอกจากจะต้องพิจารณาถึงความเข้มข้นของสาสกัดเป็นหลักแล้ว รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของสารสกัดมะหาดเช่นกัน












7.ความรู้ทั่วไปของมะละกอ

มะละกอ

มะละกอ (Papaya) มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ “Carica papaya” เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทาน มากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆหรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยประโยชน์ของมะละกอนั้นค่อนข้างหลากหลาย มีสรรพคุณเป็นทั้งยายารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ

1.มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง 
2.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ 
3.ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือนและป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ 
4.ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น 
5.มีงานวิจัยมะละกอพบว่า การรับประทานมะละกอเป็นประจำมีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็งได้
 








วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

6.วิธีการทำเกลือขัดผิวขมิ้น

วิธีการทำเกลือขัดผิวขมิ้น


ส่วนผส

-เกลือทะเลเกล็ดใหญ่ 1 ถ้วย 
-นมสดรสจืด 1 ถ้วย 
-ขมิ้นชันผง 1 ช้อนโต๊

วิธีการทำเกลือขัดผิวขมิ้น

-ใส่เกลือลงในกระชอน แกว่งผ่านน้ำอย่างรวดเร็วแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิทจากนั้นใส่เกลือลงในหม้อดิน ปิดฝาหม้อยกขึ้นตั้งไฟกลางค่อนไปทางอ่อน ฟังเสียงเกลือที่แตกจนเงียบสนิท ยกหม้อลงจากเตาเทเกลือออกผึ่งให้เย็น แล้วนำไปโขลกหรือปั่น พักไว้

-ใส่เกลือป่นที่ร่อนแล้วลงในกระทะสเตนเลสพร้อมด้วยขมิ้น เติมนม  ถ้วย เปิดไฟกลางค่อนไปทางอ่อน ผัดไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมเข้ากันและเกลือแห้งดี เติมนมอีก  ถ้วยผัดต่อจนเกลือแห้ง ทำเช่นนี้อีกสองครั้งจนนมหมด

-พักเกลือขมิ้นขัดผิวให้เย็น นำไปใช้ได้



5.วิธีการทำสบู่มะหาด


วิธีการทำสบู่มะหาด

อุปกรณ์


- เนื้อสบู่  1 กิโลกร้ม

-น้ำธรรมดา  1 ขีด
-น้ำหอม 1/2 ปอนด์
-น้ำมะหาด
-หม้อและเตาสำหรับต้มสบู่
-พิมพ์รูปต่างๆใช้พิมพ์ขนมก็ได้




ขั้นตอนการเตรียมน้ำมะหาด

-หั่นมะหาดเป็นชิ้นเล็กๆ
-นำมะหาดไปปั่นให้ละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
-นำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเอาส่วนที่เป็นนำ้มาทำสบู่


วิธีการทำสบู่มะละกอ

-นำเนื้อสบู่ที่เป็นแผ่นฝอยๆเล็กๆ (อาจใช้เนื้อสบู่ที่เป็นแท่งมาขูดกับที่ขูดหรือจะใช้มีดหั่นก็ได้) จำนวน 1  กิโลกรัม ใส่ในหม้อต้ม


-ใส่น้ำสะอาดหรือนมสดลงไป 1 ขีด ลงในหม้อต้

- ใส่น้ำมะหาดที่เตรียมไว้ใส่ลงไปสัก 1- 2 ช้อนโต๊ะ หรือมากกว่านี้ได้ตามชอบ

-คนให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี ให้เหลวประมาณครีมทาตัวทั่วไป

-เอาส่วนผสมใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆกวนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ปิดไฟ ยกลงจากเตา


-ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ตามชอบ จะใช้น้ำมันมะกอกทาพิมพ์นิดหน่อยก็ได้จะได้แคะสบู่ออกง่าย


-พักสบู่ที่ได้ให้เนื้อสบู่แข็งตัว แคะออกจากพิมพ์


-จะได้สบู่มะละกอตามต้องการ

4.วิธีทำสบู่มะละกอ

วิธีทำสบู่มะละกอ

อุปกรณ์

- เนื้อสบู่  1 กิโลกร้ม

-น้ำธรรมดา  1 ขีด
-น้ำหอม 1/2 ปอนด์
-น้ำมะละกอ
-หม้อและเตาสำหรับต้มสบู่
-พิมพ์รูปต่างๆใช้พิมพ์ขนมก็ได้

ขั้นตอนการเตรียมน้ำมะละกอ

-หั่นมะละกอเป็นชิ้นเล็กๆ
-นำมะละกอไปปั่นให้ละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
-นำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเอาส่วนที่เป็นนำ้มาทำสบู่

วิธีการทำสบู่มะละกอ

-นำเนื้อสบู่ที่เป็นแผ่นฝอยๆเล็กๆ (อาจใช้เนื้อสบู่ที่เป็นแท่งมาขูดกับที่ขูดหรือจะใช้มีดหั่นก็ได้) จำนวน 1  กิโลกรัม ใส่ในหม้อต้ม

-ใส่น้ำสะอาดหรือนมสดลงไป 1 ขีด ลงในหม้อต้

- ใส่น้ำมะละกอที่เตรียมไว้ใส่ลงไปสัก 1- 2 ช้อนโต๊ะ หรือมากกว่านี้ได้ตามชอบ

-คนให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี ให้เหลวประมาณครีมทาตัวทั่วไป

-เอาส่วนผสมใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆกวนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ปิดไฟ ยกลงจากเตา


-ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ตามชอบ จะใช้น้ำมันมะกอกทาพิมพ์นิดหน่อยก็ได้จะได้แคะสบู่ออกง่าย


-พักสบู่ที่ได้ให้เนื้อสบู่แข็งตัว แคะออกจากพิมพ์


-จะได้สบู่มะละกอตามต้องกา

3.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น

1.สบู่มะละกอ






2.สบู่มะหาด






3.เกลือขัดผิวขมิ้น










2.ความหมายของสมุนไพร

   ความหมายของสมุนไพร

        สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ"หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น
       คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

ลักษณะ

       พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
1.รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2.สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3.กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4.รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5.ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

การเก็บรักษาสมุนไพร

1.ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น สถานที่เก็บสมุนไพรนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในสมุนไพรได้
2.สมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นต้องแห้งไม่เปียกชื้น หากเสี่ยงต่อการขึ้นราได้ ควรนำสมุนไพรนั้นออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ
3.ในการเก็บสมุนไพรนั้นควรแยกประเภทของสมุนไพรในการรักษาโรค เพื่อป้องกันการหยิบยาผิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
4.ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บสมุนไพรบ่อย ๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่าง ๆ เข้าไปทำลายหรือก่อความเสียหายกับสมุนไพรที่เก็บรักษาหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางป้องกันเพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพร








1.บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
    
       ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการบำรุงผิวพรรณหรื่อเสริมความงามกันอย่างแพร่หลาย และมีสารเคมีที่มีพิษรวมอยู่ด้วยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อชีวิตของเราถ้าได้รับเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกายด้วย
       ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ใช้กันทั่วไปมีส่วนผสมของสารเคมีและสมุนไพรปะปนกันไปบ้าง ซึ่งถ้าเป็นสารเคมีจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายแต่ถ้าเป็นสมุนไพรก้จะทำให้ไม่เป็นอันตรายและมีผลข้างเคียงแต่จะเห็นผลได้ช้ากว่าสารเคมี
       มะละกอซึ่งเป็นผลไม้ที่ทุกๆบ้านต้องปลูกไว้ไม่ว่าจะนำมาประกอบอาหารหรือใช้เสริมความงามกันก็ตาม คนในชุมชนมักจะปลูกมะละกอไว้เพราะมะละกอมีประโยชน์มาก เช่นมะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิดช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มะหาดห็เป็นสมุนไพรอีกอย่างหนึ่งที่กำลังนิยมใช้กันในเรื่องของความงามเพราะจะทำให้ผิวขาวใสขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยแก้โรคกระษัยไตพิการ กระษัยเสียด กระษัยดาน ฯลฯ สุดท้ายคือ ขมิ้น เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากเหมาะแก่การนำมาใช้เสริมความงาม ซึ่งประโยชน์ของขมิ้นคือ มีสารต้านอนุมูลอิิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย และอื่นๆอีกมากมาย   

สมมุติฐาน
    
          ผลิตภัณฑ์เสรืมความงามได้แก่  สบู่มะละกอ  สบู่จากผลมะหาด และเกลือขัดผิวขมิ้นที่พวกเราได้ทำกันขึ้นสามารถใช้งานได้จริงและไม่เกิดผลข้างเคียงกับผู้ใช้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์
2.เพื่อศึกษาประโยชน์ของสมุนไพร
3.ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรเพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็ฯสารเคมี

ตัวแปร    

ตัวแปรต้น  สบู่มะละกอ  สบู่จากผลมะหาด เกลือขัดผิวขมิ้น
ตัวแปรตาม  ผิวที่ขาวขึ้นและรอยแผลเป็นที่จางลง
ตัวแปรควบคุม  สภาพผิวของบุคคลที่ีใช้

ขอบเขตของการศึกษา

สถานที่
1.สวนสมุนไพรสมเด็จพระ้ทพรัตนราชสุดา
2.บ้านนางสาว นิตยา ทองพูน สมาชิกในกลุ่ม

ระยะเวลาในการทำ
-ใช้เวลาในการทำและทดลองทั้งหมด 2 สัปดาห์

ประโยชน์ที่ได้รับ

    สบู่มะละกอ สบู่มะหาด เกลือขัดผิวขมิ้น  สามารถทำให้ผิวขาวและเนียนขึ้นสังเกตุได้จากรอยแผลเป็นบนผิวกายจางลง และสามารถขัดขี้ไคลตามข้อพับออกได้